รามเกียรติ์ วรรณกรรมรามเกียรติ์ มีที่มาอย่างไร
รามเกียรติ์ ไม่ใช่ วรรณกรรมรามเกียรติ์ ท้องถิ่นดั้งเดิมของไทย หรือของดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีที่มาจาก รามายณะของอินเดีย ซึ่งจากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ดินแดนแถบนี้ได้มีการติดต่อกับชาวอินเดีย ราวพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๘
เนื่องจากดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสินค้าที่ชาวอินเดียต้องการ คือ เครื่องเทศ ยางไม้หอม และไม้หอม เป็นต้น การติดต่อค้าขายนี้ มีผลพวงที่ตามมา คือการติดต่อเผยแพร่ทางอารยธรรม มีทั้งที่ชาวอินเดีย เป็นผู้นำมาเผยแพร่โดยตรง รับผ่านจากประเทศข้างเคียง และจากการที่คนในดินแดนนี้ เดินทางไปศึกษาในอินเดีย และรับเอาอารยธรรม ความรู้ และตำราต่างๆ มาเผยแพร่
รามเกียรติ์ เป็น วรรณคดีไทยที่มีความผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตไทยแต่โบราณกาล ปรากฏเป็นชื่อบ้านนามเมือง มงคลนาม หรือมีอิทธิพลสอดแทรกอยู่ในวรรณคดี และตำนานต่างๆ เช่น ในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชด้านที่ ๓
ได้มีการพูดถึง สถานที่ชื่อ ถ้ำพระราม แม้แต่ธรรมเนียมนิยม ในการขนานพระนามของพระมหากษัตริย์ว่า พระรามาธิบดี พระราเมศวร พระนารายณ์ การตั้งชื่อบ้านนามเมือง เช่น อยุธยา บึงพระราม ก็ล้วนได้รับอิทธิพลจาก รามเกียรติ์ ทั้งสิ้น
รามเกียรติ์ เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อใด
รามายณะ วรรณคดีไทยที่มีความผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตไทยแต่โบราณกาล เริ่มเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อไหร่นั้น ไม่ทราบแน่ชัด แต่เข้าใจว่า พ่อค้าชาวอินเดีย น่าจะเป็นผู้นำมาเผยแพร่ในไทย แต่แรกคงมาในรูปแบบของการถ่ายทอดทาง มุขปาฐะ คือเป็นการเล่า นิทานเรื่องพระราม และต่อมาจึงได้จดจารึก ลงเป็น วรรณกรรมรามเกียรติ์ วรรณกรรมของไทย
ซึ่งการจดจารนี้ มิใช่เป็นการคัดลอก แต่เป็นการประพันธ์ขึ้นใหม่ ตามฉันทลักษณ์ร้องกรองไทย และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเนื้อเรื่อง ของรามเกียรติ์กับรามายณะแล้ว พบว่ารามเกียรติ์ของไทยมีรายละเอียดเนื้อหา ไม่ตรงกับรามายณะฉบับหนึ่งฉบับใดโดยเฉพาะ
แต่มีความสอดคล้องกับ วรรณกรรมรามเกียรติ์ รามายณะของอินเดียหลายฉบับ และมีบางส่วนคล้องจอง กับ มังงะ รามายณะของประเทศเพื่อนบ้าน เข้าใจได้ว่า รามเกียรติ์ของไทย คงมิได้ถ่ายทอดจากรามายณะฉบับใดโดยตรง หากแต่ประมวลเอาเนื้อเรื่องจากสำนวนต่างๆ โดยคัดเลือกในส่วนที่เหมาะสม กับวัฒนธรรม อุปนิสัยและวิสัยทัศน์ของคนไทย
รามเกียรติ์ วรรณคดีไทยที่มีความผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตไทยแต่โบราณกาล เผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทย มีทั้งที่มาจากอินเดียโดยตรง หรือผ่านชาติเพื่อนบ้าน เช่น ชวา มลายู โดยมีการเผยแพร่เข้ามาเป็นระยะๆ มิได้มาในครั้งเดียว ทั้งในรูปแบบของ วรรณกรรมมุขปาฐะ และ วรรณกรรมลายลักษณ์ จึงทำให้เนื้อเรื่องไม่ตรงกับของจริงไปบ้าง
ตัวละครหลัก วรรณกรรมรามเกียรติ์
พระราม คือ พระนารายณ์อวตาร ลงมาถือกำเนิด เป็นพระราชโอรสของ ท้าวทศรถ กับ นางเกาสุริยา เพื่อจะปราบทศกัณฐ์ พระรามมีพระอนุชาต่างพระมารดา ๓ พระองค์ คือ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตรุต ซึ่งต่างก็มีความรักใคร่กันอย่างมาก พระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา
พระรามมีกายสีเขียว สามารถปรากฏร่าง เป็นพระนารายณ์มีสี่มือได้ อาวุธประจำพระองค์ คือ ศร ซึ่งเป็นอาวุธวิเศษ ที่ได้ประทานมาจากพระอิศวร
บทบาทที่สำคัญในเรื่อง รามเกียรติ์ ได้แก่ เมื่อเยาว์วัยพระรามได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์ กับสำนักฤาษีสวามิตร หรือวิศวามิตร มีความเก่งกล้า ถึงกับฆ่ากากนาสูร และสวาหุ ซึ่งมารบกวนเหล่าฤาษีชีไพร
ท้าวชนกจักรวรรดิ์ หรือฤาษีชนก ได้ให้หมู่กษัตริย์มาประลองยกศรรัตนธนู เพื่ออภิเษกกับนางสีดา พระรามก็สามารถยกรัตนธนูได้สำเร็จ และได้อภิเษกกับนางสีดา ระหว่างเดินทางกลับกรุงอโยธยา สามารถปราบรามสูร ยักษ์ผู้ถือขวาน และได้รับศรจากรามสูร
ได้ฆ่าพระยาขร และพระยาทูษณ์ พี่ชายของนางสำมนักขา ระหว่างออกเดินป่า ได้ปราบพิราบยักษ์ ได้ช่วยสุครีพปราบพาลี ไปรบกับทศกัณฐ์ และได้ฆ่าทศกัณฐ์ได้สำเร็จ สถาปนาพิเภกให้ครองกรุงลงกา
นางสีดา พระลักษมี เป็นพระมเหสีของพระนารายณ์ อวตารลงมาเกิดเพื่อเป็นคู่ครองของพระราม ตามบัญชาของพระอิศวร นางสีดาเป็นพระธิดาของทศกัณฐ์ กับนางมณโฑ แต่เมื่อประสูติแล้ว พิเภกได้ทำนายว่า นางเป็นกาลกิณีแก่พระบิดาและบ้านเมือง ทศกัณฐ์จึงสั่งให้นำนางใส่ผอบ (ผะอบ) ลอยน้ำไป
ได้มีพระฤาษีชนกพบเข้า จึงเก็บไปเลี้ยงเป็นลูก โดยฝังดินฝากแม่พระธรณีไว้ เวลาผ่านไปถึง ๑๖ ปี พระฤาษีชนก เบื่อหน่ายการบำเพ็ญพรต คิดกลับไปครองกรุงมิถิลาเช่นเดิม จึงลาเพศพรหมจรรย์ไปขุดนางขึ้นมา แล้วตั้งชื่อให้ว่า สีดา ซึ่งแปลว่ารอยไถ
จากนั้นพานางพานางเข้าเมืองมิถิลาจัดพิธียกศรคู่บ้านคู่เมือง เพื่อเสี่ยงทายหาคู่ครองให้นางสีดา พระราม สามารถยกศรขึ้นมาได้ จึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา
ทศกัณฐ์ เป็นกษัตริย์แห่งกรุงลงกา นับว่าเป็นตัวเอกของเรื่อง รามเกียรติ์ มีกายสีเขียว มี ๑๐ พักตร์ ๒๐ กร ทรงมงกุฏชัย ลักษณะ ปากแสยะ ตาโพลง ดังโคลงที่กล่าวว่า ทศกัณฐ์สิบพักตร์ขึ้น เศียรตรี ทรงมงกุฏชัยเขียวสี อาตม์ไท้ กรยี่สิบพรศุลี ประสาทฤทธิ์ ยิ่งนา ถอดจิตจากตนได้ ปิ่นด้าว ลงกา
ทศกัณฐ์ เดิมเป็น ยักษ์นนทก กลับชาติมาเกิด เพื่อทำการแก้แค้นกับพระนารายณ์ ซึ่งอวตารมาเกิดเป็นมนุษย์ ไม่มีใครฆ่าให้ตายได้ เพราะทศกัณฐ์ถอดดวงใจใส่กล่อง ฝากไว้กับ พระฤาษีโคบุตร ผู้เป็นอาจารย์ ทศกัณฐ์มีนิสัยเจ้าชู้ มีชายาและนางสนมมากมาย
แต่ถึงกระนั้นเมื่อรู้ว่านางสีดาเป็นหญิง ที่มีความงดงามมาก แม้นางจะมีพระสวามีอยู่แล้ว ก็ยังลักพาตัวไป จึงเป็นสาเหตุให้ต้องทำศึกกับพระราม จนญาติมิตรล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และในที่สุดทศกัณฐ์ก็ถูกพระรามฆ่าตาย
จุดเริ่มต้นของเรื่อง วรรณกรรมรามเกียรติ์
เริ่มจาก นนทกได้ไปเกิดใหม่เป็น ทศกัณฐ์มีสิบหน้ายี่สิบมือ ตามคำพระนารายณ์ก่อนนั้น เมื่อพระนารายณ์สังหารนนทกแล้ว ได้ไปขอพระอิศวร จะให้เหล่าเทวดา และตนไปตามสังหารนนทก ในชาติหน้า หลังจากนั้น ทหารเอกทั้งห้า จึงเกิดตามกันไป
ได้แก่ หนุมาน เกิดจากเหล่าศาสตราวุธของพระอิศวร ไปอยู่ในครรภ์นางสวาหะ สุครีพ เกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคำสาปฤๅษีที่เป็นพ่อของนางสวาหะ องคต เป็นลูกของพาลีที่เป็นพี่ของสุครีพ ชมพูพาน เกิดจากการชุบเลี้ยงของพระอินทร์ นิลพัท เป็นลูกของพระกาฬ
ฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์ ได้เกิด ศึกชิงนางสีดา จนไพล่พลฝ่ายยักษ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก และสุดท้าย ทศกัณฐ์นั้นก็ถูกพระรามฆ่าตาย เช่นเดียวกัน
คุณค่าที่ได้รับจาก วรรณกรรมรามเกียรติ์ วรรณคดีไทยที่มีความผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตไทยแต่โบราณกาล
ด้านภาษาและวรรณคดี มีสำนวนที่มาจากเรื่อง วรรณกรรมรามเกียรติ์ หลายสำนวน เช่น ลูกทรพี เหาะเกินลงกา สิบแปดมงกุฎ ราพณาสูร ตกที่นั่งพิเภก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผู้นิยมแต่งรามเกียรติ์ ทำให้เกิดรามเกียรติ์หลายสำนวน
ด้านศิลปกรรม รามเกียรติ์ วรรณคดีไทยที่มีความผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตไทยแต่โบราณกาล ได้ก่อให้เกิดแรงดลใจให้จิตรกรนำเรื่องราวไปวาดภาพตามฝาผนังโบสถ์ วิหาร เช่นเดียวกับเรื่องชาดกนอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การปั้นตัวละครต่างๆ ในเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อใช้ประดับในที่ต่างๆ
ด้านนาฏศิลป์ เรื่องนี้นิยมนำมาแสดงโขน ละคร หนังใหญ่ จึงนับว่ามีอิทธิพลต่อนาฏกรรมไม่ใช่น้อย
ด้านประเพณี รามเกียรติ์ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านประเพณีต่างๆโดยเฉพาะพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีวิวามงคล พระราชพิธีราชาภิเษก พิธีปล่อยม้าอุปการ การยกทัพ เป็นต้น
ด้านความเชื่อ พระรามเป็นพระนารายณ์อวตาร ฉะนั้น พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ จะใช้พระนามของพระรามเพื่อความเป็นสิริวัสดิมงคล เช่น พระรามาธิบดี พระราเมศวร เป็นต้น
นอกจากนั้น เรื่องรามเกียรติ์ มีอิทธิพลใน วรรณคดีไทยที่มีความผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตไทยแต่โบราณกาล ด้านโหราศาสตร์ และการใช้ชื่อในรามเกียรติ์เป็นชื่อของสถานที่ ชื่ออาหาร เป็นต้น เช่น ถนนพระราม ๔ ชื่อสถานที่ พระรามลงสรงชื่ออาหาร รามเกียรติ์ จึงมีอิทธิพล ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย มาช้านาน อ่านเรื่อง นางวันทอง คลิกที่นี่