นางวันทอง หญิงที่ถูกตีตราว่าเป็น วันทองสองใจ นางวันทองถูกประหารเพราะขุนช้างและขุนแผน

นางวันทอง

นางวันทอง เหตุใดจึงได้ชื่อว่า วันทองสองใจ

นางวันทอง เรื่องนี้เกิดขึ้นที่สุพรรณบุรี มีครอบครัว 3 ครอบครัวเป็นเพื่อนบ้านกัน และมีลูกๆที่วัยใกล้เคียงกัน ได้แก่ ช้าง พลายแก้ว และ พิม ทั้ง 3 คนพ่อตายเหมือนกันหมด และ นางวันทองถูกประหารเพราะขุนช้างและขุนแผน

ช้าง  บ้านรวย ชอบพิม แม่มีเงิน บ้านรวยได้เข้ารับราชการ เอาไปถวายพระพันวษา ไปเป็นมหาดเล็ก ได้ชื่อใหม่ว่า ขุนช้าง พอเมียคนแรกตาย ก็ได้หมายปองนางพิม และพยายามเข้าหาตามจีบนางพิมบ่อยครั้ง แต่นางพิมไม่ชอบ ทำให้ขุนช้างขอให้แม่ใช้เงินทอง เข้าหาแม่นางพิม แม่นางพิมก็ปลื้ม

พลายแก้ว โชคร้ายพ่อโดนประหารชีวิต เพราะทำผิดกฎ และจะต้องโดนยึดทุกอย่างเข้าในวัง แม่จึงพาหนีไปเมืองกาญ อายุครบ 15 ได้บวชจนหมดวิชาเรียน ได้ย้ายกลับมายังเมืองสุพรรณ และได้กลับมาเจอ นางพิมและช้างอีกครั้ง และการเจอนางพิมครั้งนี้ พลายแก้วได้ขอสึก เพราะรักนางพิมตั้งแต่ออกบวชเป็นเณร และขอนางพิมแต่งงาน ไปออกรบที่เมืองเชียงทองจากแผนยอนของขุนช้าง จนชนะได้ชื่อว่า ขุนแผนแสนสะท้าน และได้เมียกลับมาชื่อ ลาวทอง

นางพิม มีความสวยงามและโตมาด้วยกันพร้อมกับ ช้าง และ พลายแก้ว ช่วงพลายแก้วออกไปรบ เกิดป่วย ได้ชื่อใหม่ว่า วันทอง เพื่อแก้เคล็ด ระหว่างพลายแก้วออกรบ ขุนช้างโกหกว่าตายในระหว่างรบ และทำให้นางพิมต้องโดนยึดเข้าวัง ดังนั้น วิธีแก้คือ ให้แต่งงานกับขุนช้าง นางพิมจำต้องยอมเพราะแม่บังคับ แต่ไม่ยอมเข้าเรือนหอ เพราะเชื่อว่า พลายแก้วจะต้องกลับมา

นางลาวทอง เมียใหม่ขุนแผน ได้ตบตีกับนางวันทอง ทำให้ขุนแผนพาลาวทองกลับไปอยู่บ้านแม่ โอกาสดีของขุนช้างเข้าทำการข่มขืนนางวันทอง ทำให้นางวันทองตกเป็นเมียขุนช้างไปทันที วันนึงลาวทองป่วย และฝากไว้กับขุนช้างคู่อริ ขุนช้างไปฟ้องพระพันวษา ว่าขุนแผนเบี้ยวงาน จึงทำให้ลาวทองโดนยึดตัวเข้าวัง และสั่งห้ามไม่ให้เจอกันกับขุนแผน ขุนแผนเสียใจหนักมาก

ขุนแผน ได้ออกไปตามด่านต่างๆ เพื่อไปหา ของวิเศษสามอย่างได้แก่ กุมารทอง ดาบฟ้าฟื้น และ ม้าสีหมอก เมื่อได้ครบแล้ว นึกถึงนางวันทอง จึงได้แอบไปพานางวันทองหนีออกมา หนีไปเรื่อยๆ เข้า่ไปในป่าจนท้องแก่ ขุนแผนจึงได้มอบตัว พระพันวษาได้ตัดสินว่า ขุนแผนไม่ผิด ขุนช้างนั่นแหละผิด จากนั้นขุนแผนได้ไปกราบทูล ขอนางลาวทองกลับมา พระพรรณวสากลับโกรธมาก จับขุนแผนเข้าคุกทันที เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้ หนึ่งนางแก้วกิริยาได้ไปปรนนิบัติขุนแผนตรงริมคุก และขุนช้างลักพาตัววันทองที่ท้องแก่หนีไปเป็นเมียตัวเอง

นางวันทองได้คลอดลูกออกมา ชื่อว่า พลายงาม ขุนช้างเข้าใจผิดว่าเป็นลูกของตัวเองมาตลอด จนกระทั่งพลายงามโตขึ้นๆ หน้าตากลับไปคล้ายกับขุนแผน จึงวางแผนฆ่า แต่ได้รอดพ้นความตายมาได้ วันทองจึงได้สงพลายงามไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรี เติบโตขึ้น ได้ไปออกรบให้กับ พระพันวษา โดยแลกกับข้อให้ปล่อยพ่อของตนออกมาช่วยรบ เมื่อชนะ ก็ได้มีการแต่งงานขึ้น จวบจนวันนึงสบโอกาสที่ขุนช้างเมา ได้เข้าไป โหลดเกมส์ ขโมยตัวแม่กลับมา เพื่อให้ครอบครัวสมบูรณ์แบบ

ขุนช้างไปฟ้องพระพันวษาอีกครั้ง แกจึงโกรธขุนช้างมาก จึงได้ให้นางวันทองตัดสินใจเลือกทีจะอยู่กับใคร นางวันทองถูกประหารเพราะขุนช้างและขุนแผน ปรากฎว่านางวันทองตัดสินใจเลือกใครไม่ได้ พระพรรรณวสาจึงได้ตัดสินประหารชีวิตนางวันทอง ในขณะนั้นก็มีใครหลายคนได้ห้ามการตัดสินครั้งนี้ เมื่อพระพันวษาเกิดเปลี่ยนใจ แต่ก็ไม่ทันสั่งห้าม  วันทองสองใจ โดนตัดคอไปทันที นางวันทองถูกประหารเพราะขุนช้างและขุนแผน

ขุนช้างยื่นถวายฏีกา ในวันติดสิน นางวันทอง วันทองสองใจ

พลายงาม เมื่อชนะคดีความขุนช้างแล้ว ขุนช้างได้พานางวันทองกลับไปอยู่สุพรรณบุรี ส่วนตัวพลายงามเอง ก็กลับไปอยู่บ้านพร้อมหน้าญาติและพ่อ ขาดก็แต่แม่ ทำให้พลายงามเกิดความคิดที่จะพานางวันทองกลับมาอยู่ด้วยกัน จะได้พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก พอตกดึกจึงไปลอบขึ้น เรือนขุนช้างแล้วพานางวันทองหนีมาอยู่ที่บ้านกับตน

ตอนแรกนางก็ไม่ยินยอมที่จะมา เพราะกลัวจะเป็นเรื่องให้อับอายว่า คนนั้นลากไป คนนี้ลากมาอีก และเกรงจะมีปัญหาตามมาภายหลัง จึงบอกให้พลายงามนำความไปปรึกษาขุนแผน เพื่อฟ้องร้องขุนช้างดีกว่าจะมาลักพาตัวไป แต่พลายงามไม่ยอม สุดท้ายนางวันทองจึงจำต้องยอมไปกับพลายงาม

ฝ่ายขุนช้างนอนฝันร้ายก็ผวาตื่นเอาตอนสาย ครั้นตื่นขึ้นมาก็ร้องเรียกหานางวันทอง ออกมาถามบ่าวไพร่ก็ไม่มีใครเห็นจึงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ มุ่งมั่นจะตามนางวันทองกลับมาให้ได้ ฝ่ายพลายงามก็เกรงว่าขุนช้างจะเอาผิด ถ้ารู้ว่าตนไปพานางวันทองมา จะเพ็ดทูลสมเด็จพระพันวษาอีก แม่อาจจะต้องโทษได้

จึงใช้ให้หมื่นวิเศษผลไปบอกขุนช้างว่า ตนนั้นป่วยหนักอยากเห็นหน้าแม่ จึงใช้ให้คนไปตามนางวันทองมาเมื่อกลางดึก ขอให้แม่อยู่กับตนสักพักหนึ่งแล้วจะส่งตัวกลับมาอยู่กับขุนช้างตามเดิม ขุนช้างโมโหและแค้นยิ่งนักที่พลายงามทำเหมือนข่มเหงไม่เกรงใจตน

จึงร่าง คำร้องถวายฎีกา แล้วลอยคอมายังเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระพันวษาเพื่อถวายฎีกา ทำให้สมเด็จพระพันวษาพิโรธมาก ให้ทหารรับคำฟ้องมาแล้วให้เฆี่ยนขุนช้าง ๓๐ ที ล้วปล่อยไป และยังทรงตั้งกฤษฎีกาการรักษาความปลอดภัยว่า ต่อไปข้าราชการผู้ใดที่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้วปล่อยให้ใครเข้ามาโดยมิได้

รับอนุญาตจะมีโทษมหันต์ถึงประหารชีวิต กล่าวฝ่ายขุนแผนนอนอยูในเรือนกับนางแก้วกิริยาและนางลาวทองอย่างมีความสุข ครั้นสองนางหลับ ขุนแผนก็คิดถึงนางวันทองที่พลายงามไปนำตัวมาไว้ที่บ้าน จึงออกจากห้องย่องไปหานางวันทองหวังจะร่วมหลับนอนกัน แต่นางปฏิเสธแล้วพากันหลับไป แต่พอตกตึก นางวันทองก็เกิดฝันร้ายตกใจตื่นเล่าความฝันให้ขุนแผนฟัง ขุนแผนฟังความฝันของนาง ก็รู้ทันทีว่าเป็นเรื่องร้าย อันตรายถึงชีวิตแน่นอน แต่ก็แกล้งทำนายไปในทางดีเสี ยเพื่อนางจะได้สบายใจ

ฝ่ายสมเด็จพระพันวษา ครั้นทรงอ่านคำฟ้องของขุนช้างก็ทรงกริ้วยิ่งนัก ให้ทหารไปตามตัวนางวันทอง ขุนแผนและพระไวยมาเฝ้าทันที ขุนแผนเกรงว่านางวันทองจะมีภัย จึงเสกคาถาและขี้ผึ้งให้นางวันทองทาปากเพื่อให้พระพันวษาเมตตา แล้วจึงพานางเข้าเฝ้า เมื่อพระพันวษาเห็นนางวันทองก็ใจอ่อนเอ็นดู ตรัสถามเรื่องราว ที่เป็นมาจากนางวันทองว่า ตอนชนะคดีให้ไปอยู่กับขุนแผน

แล้วทำไมจึงไปอยู่กับขุนช้างนางวันทอง ก็กราบทูลด้วยความกลัวไปตามจริงว่า พิกุลทอง ขุนแผนถูกจองจำ ขุนช้างเอาพระโองการ ไปอ้างให้ฉุดนางไปอยู่ด้วย เพื่อนบ้านเห็นเหตุการณ์ ก็ไม่กล้าเข้าช่วยเพราะกลัวผิดพระโองการ สมเด็จพระพันวษาฟัง ความทรงกริ้วขุนช้างมาก

ทรงถามนางวันทองอีกว่า ขุนช้างไปฉุดให้อยู่ด้วยกันมาตั้ง ๑๘ ปี แล้วคราวนี้หนีมาหรือมีใครไปรับมาอยู่กับขุนแผน นางวันทองก็กราบทูลไปตามจริงว่า พระไวยเป็นผู้ไปรับมาเวลาสองยาม ขุนช้างจึงหาความว่า หลบหนี สมเด็จพระพันวษาทรงกริ้วพระไวยที่ทำอะไรตามใจตน นึกจะขึ้นบ้านใครก็ขึ้น ทำเหมือนบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป และว่าขุนแผนรู้เห็นเป็นใจ

สมเด็จพระพันวษาทรงคิดว่า สาเหตุของความวุ่นวายทั้งหมดนี้ เกิดจากนางวันทองจึงให้นางวันทองตัดสินใจว่า จะอยู่กับใคร นางวันทอง ตกใจและประหม่า อีกทั้ง จะหมดอายุขัยจึงบันดาลให้พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ว่าจะอยู่กับใคร นางให้เหตุผลว่า นางรักขุนแผน แต่ขุนช้างก็ดีกับนาง ส่วนพลายงามก็เป็นลูกรัก ทำให้สมเด็จพระพันวษากริ้วมาก เห็นว่านางวันทองเป็น วันทองสองใจ เป็นหญิงแพศยา จึงให้ประหารชีวิตนางวันทอง เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง

นางวันทองสองใจ เมื่อตายไปกลายเป็น เปรตวันทอง

นางวันทอง เมื่อตอนขาดใจ มีความอาลัยถึงลูก เวรกรรมที่มีอยู่ จึงทำให้เป็นอสุรกาย ในวันที่พระไวยออกศึก นางเกรงว่าพระไวยจะถูกบิดาฆ่าตาย จึงแปลงกายเป็นหญิงสาวสวย มาดักพระไวยอยู่ระหว่างทาง พระไวยเห็นเข้าก็หลงรัก เข้าไปเกี้ยวพาราสี เมื่อพระไวยเข้ามาใกล้ นางแปลงก็ตวาดว่าตนเป็นมารดา แล้วบอกว่าศึกครั้งนี้หนักนัก ข้าศึกเข้มแข็งให้ระวังให้ดี ถ้าเข้าหักหาญจะเสียที แล้วกลายร่างเป็นเปรตไม่มีหัวหายตัวไป

พระไวยเห็นดังนั้น ก็ให้อนาถนัก แต่จำใจต้องยกทัพ ไปทำศึกต่อไป ตกดึกก็มาถึงบางกระทิง จึงให้ตั้งค่ายที่นั่น แล้วส่งม้าใช้ไปสืบข่าว ขุนแผนกับพลายชุมพล ได้ยินเสียงกองทัพยกมา จึงหารือกัน เห็นว่ามาตั้งทัพอยู่ที่บางกระทิง เพราะเกรงว่า ฝ่ายตรงข้ามจะชิงความได้เปรียบ ครั้นแล้วขุนแผน ก็จัดแจงแต่งกายพลายชุมพล ให้ดูคล้ายมอญใหม่ เตรียมตัวออกรบ

สรุปแล้ว นางวันทองถูกประหารเพราะขุนช้างและขุนแผน หรือความลังเลของนางเอง 

นางวันทองถูกประหารเพราะขุนช้างและขุนแผน การตัดสินประหารชีวิตนางวันทอง ไม่เพียงตีตราหน้า ด่านางว่าเป็น วันทองสองใจ ที่น่ารังเกียจ แต่ยังเป็นความต้องการ การรักษาอำนาจของกษัตริย์ผู้ตัดสินคดี เพราะเรื่องราวอีรุงตุงนังชิงนางวันทองระหว่างขุนแผนขุนช้างวันทอง รวมทั้งจมื่นไวยวรนาถ นำไปสู่ขัดคำสั่งอำนาจ สมเด็จพระพันวษาผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน ซึ่งในเสภาก็เต็มไปด้วยเรื่องข้อกฎหมายบทลงโทษ และอำนาจของกษัตริย์ในฐานะกฎหมายเอง

เอาเข้าจริงผู้ร้าย ที่น่าด่าในเรื่องไม่ใช่ นางวันทอง ขุนช้าง หรือขุนแผน หากแต่คือ สมเด็จพระพันวษา ผู้เป็นพระเจ้าอยู่หัว เพราะกษัตริย์ตามลัทธิเทวราชา มีอำนาจมากล้นจนสั่งฆ่าใครก็ได้ สั่งกุดหัวไพร่ราษฎร์ที่ไม่ได้ดั่งใจ มีความอำมหิตที่ได้รับความชอบธรรม เช่น นางวันทอง และพ่อของขุนแผน ชื่อขุนไกร ที่เป็นทหารของสมเด็จพระพันวษา มีหน้าที่ดูแลควาย แต่พอฝูงควายแตกตื่นหน้าพระที่นั่ง เขาเกรงว่าจะไปขวิดสมเด็จพระพันวษา จึงฆ่าควายตายเพื่อป้องกัน สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งประหารชีวิตขุนไกรทันทีแล้วนำศพแห่ประจาน ริบลูกเมียทรัพย์สินข้าทาสบริวาร

ที่มาของคำว่า นางวันทองสองใจ

นางวันทองถูกประหารเพราะขุนช้างและขุนแผน นางวันทอง มี 2 ผัวแล้วเลือกไม่ได้ว่า จะอยู่กับผัวคนไหน แต่ไม่มีบทลงโทษทางกฎหมาย หรือทางศีลธรรมความเชื่อกับผู้ชายจะมีเมียมาก ซึ่งก็เป็นประเด็นที่ถูกนำมาอธิบายเสมอๆ เมื่อพูดถึงวันทอง จึงต้องนึกถึงคำว่า วันทองสองใจ มาโดยตลอดมา อย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจตุลาการของพระพันวษา กลับยังไม่ถูกนำมาตีความ