จีเอฟเอเจ–1 แบคทีเรียเอ็กซ์ทรีมโมไฟล์ชนิดนี้อาศัยแยกตัวออกจากทะเลสาบมอนอ
จีเอฟเอเจ–1 อันเป็นทะเลสาบน้ำเค็มจัดและมีสภาพด่าง ทางตะวันออกของรัฐแคลิฟอร์เนีย
จีเอฟเอเจ–1 นักวิทยาศาสตร์โดยทีมวิจัย นำโดยนักชีววิทยาดาราศาสตร์ของนาซา เฟลิซา วอล์ฟ-ไซมอน ในวารสารไซแอนซ์ในปี พ.ศ. 2553 ตามข้อมูลของผู้เขียน จุลชีพชนิดนี้เมื่อขาดแคลนธาตุฟอสฟอรัส จะสามารถรวมเอาสารหนูเข้าไปไว้ในโปรตีน ลิพิด
และผลผลิตจากกระบวนการสร้างและสลาย อย่างเช่น เอทีพี เช่นเดียวกับดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันโดยตรง กลไกของการนำสารหนูเข้าไปไว้ในโครงสร้างที่เป็นสารชีวโมเลกุลของเซลล์ยังไม่เป็นที่ทราบกัน
และผลของการค้นพบดังกล่าวยังไม่อาจตอบข้อสงสัยของนักวิทยาศาสตร์บางคนได้ การค้นพบจีเอฟเอเจ-1 ได้ให้น้ำหนักแก่แนวคิดที่มีมานานแล้วว่าชีวิตนอกโลกอาจประกอบขึ้นจากธาตุพื้นฐานที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตบนโลก