เฟเอธอน ดาวเคราะห์รูปร่างประหลาด ที่ส่องแสงสีน้ำเงิน

เฟเอธอน

เฟเอธอน ดาวเคราะห์น้อยที่มีรูปร่าประหลาดทั้งดวงมีสีน้ำเงินอย่างน่าอัศจรรย์ 

เฟเอธอน เมื่อปี ค.ศ. 1983 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากดาวเคราะห์น้อยทั่วไปนั่นก็เพราะว่ามันมีสีน้ำเงิน ซึ่งการค้นพบในครั้งแรกก็สร้างความประหลาดใจให้กับนักดาราศาสตร์เป็นอย่างมากว่าทำไมมันถึงมีสีน้ำเงินอย่างนั้น

นักดาราศาสตร์ตั้งชื่อให้ดาวดวงนี้ว่า “เฟเอธอน” ซึ่งใครก็ตามที่ได้ทำการศึกษาดาวดวงนี้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามันเป็นดาวเคราะห์น้อยสีน้ำเงินที่แปลกประหลาดมากๆเพราะสีน้ำเงินที่เราเห็นนั้นเกิดมาจากการสะท้อนออกมาจากพื้นผิว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วดาวเคราะห์ หรือดาวเคราะห์น้อยทั่วไปจะมีสีเทาหรือสีแดง ตามแต่ละองค์ประกอบของพื้นดินในดาวเเต่ละดวง แล้วองค์ประกอบอะไรถึงทำให้ดาวดวงนี้มีสีน้ำเงินสะท้อนออกมา แถมยังเป็นสีน้ำเงินที่เข้มมากโดดเด่นในละแวกหมู่ดาวที่มันอาศัยอยู่

จากการสำรวจและการศึกษาของนักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวเฟเอธอน มีคุณสมบัติและพฤติกรรมคล้ายกับดาวหาง ซึ่งดาวหางนั้นมีส่วนประกอบเป็นก้อนหิมะแข็งๆที่มีองค์ประกอบเป็นหิน น้ำเเข็งและฝุ่น รวมถึงแก๊สเยือกแข็งบางชนิด โดยหากมันได้รับพลังงานจากดาวฤกษ์จะทำให้น้ำแข็งที่อยู่บริเวณโดยรอบระเหิดขึ้นมาเป็นไอ ทำให้เรามองเห็นเป็นหาง จึงทำให้เรียกว่าดาวหาง ซึ่งดาวหางจะมีวงโคจรที่เป็นวงรีที่เรียวมากๆ ปลายข้างหนึ่งจะอยู่ใกล้ดาวฤกษ์หรือว่าดวงอาทิตย์ ส่วนอีกข้างหนึ่งจะอยู่ไปทางด้านนอกของระบบสุริยะ

ซึ่งดาวเฟเอธอนนี้เองก็ดูคล้ายกับว่าจะมีความเกี่ยวโยงอะไรบางอย่างกับดาวหาง เพราะนอกจากที่มันจะมีวงโคจรที่มีทิศทางคล้ายกับดาวหางแล้ว ดาวเฟเอธอนยังน่าจะเป็นที่มาของฝนดาวตกเจมินิดส์ ซึ่งเป็นกลุ่มของฝนดาวตกกลุ่มหนึ่ง โดยทั่วไปการเกิดปรากฎการณ์ฝนดาวตกจะเกิดขึ้นเมื่อโลกโคจรผ่านเศษฝุ่นที่ดาวหางปล่อยทิ้งไว้ตามวงโคจร โดยถ้าหากดาวหางโคจรมาตัดกับวงโคจรของโลกเมื่อไรก็จะเกิดฝนดาวตกที่นั่น และดาวเฟเอธอนเองนั้นก็เป็นแหล่งที่มาของฝนดาวตกเจมินิดส์ เพราะเส้นทางโคจรของฝนดาวตกกลุ่มนี้ดันไปเหมือนกับวงโคจรของดาวเฟเอธอน
.