ศิลาโรเซตตา บันทึกกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นในพระนามาภิไธยพระเจ้าทอเลมีที่ 5
ศิลาโรเซตตา กฤษฎีกานี้เขียนด้วยอักขระสามชนิด ตอนต้นเขียนด้วยอักขระไฮเออโรกลีฟอียิปต์
ศิลาโรเซตตา เชื่อกันว่า ศิลานี้เดิมตั้งแสดงไว้ที่วัดอียิปต์แห่งหนึ่งซึ่งน่าจะอยู่ใกล้เมืองเซอีส ต่อมาในราวต้นคริสตกาลหรือสมัยกลาง มีการย้ายศิลาไปที่อื่น และในที่สุดมีการใช้ศิลานี้เป็นวัสดุก่อสร้างปราการจูเลียนใกล้เมืองโรเซตตาที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์ ครั้น ค.ศ. 1799 ปีแยร์-ฟร็องซัว บูว์ชาร์ นายทหารชาวฝรั่งเศสในกองทัพของนโปเลียน พบศิลานี้เข้า
นับเป็นจารึกสองภาษาจากสมัยอียิปต์โบราณจารึกแรกที่ค้นพบในสมัยปัจจุบัน จึงกระตุ้นความสนใจของสาธารณชนอย่างกว้างขวาง และก่อให้เกิดความพยายามถอดความหมายภาษาอียิปต์โบราณอันเป็นภาษาที่ไม่เคยได้รับการแปลความหมายมาก่อน ฉะนั้น นักวิชาการและพิพิธภัณฑ์ในยุโรปจึงเริ่มคัดลอกเนื้อความของศิลาออกเผยแพร่ ขณะนั้น
กองทัพอังกฤษเอาชัยชนะเหนือกองทัพฝรั่งเศสในประเทศอียิปต์ได้ใน ค.ศ. 1801 และเมื่อฝรั่งเศสยอมจำนนที่อะเล็กซานเดรียแล้ว อังกฤษจึงได้ศิลาไว้ในความครอบครอง และขนศิลาไปไว้ในกรุงลอนดอน แล้วจัดแสดงแก่สาธารณชน ณ พิพิธภัณฑ์บริติชตั้งแต่ ค.ศ. 1802 เรื่อยมาจนปัจจุบัน ถือเป็นวัตถุที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมบ่อยครั้งที่สุดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้