ซอมบี้ ร่างไร้วิญญาณถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพของนักบวชลัทธิวูดู มีประวัติที่มาอย่างไร
ซอมบี้ ในภาษาอังกฤษ คำว่า Zombi ซอมบี้ตัวจริงในประวัติศาสตร์ ถูกใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1819 โดยนักเขียนชาวอังกฤษที่ชื่อ Robert Southey ในพจนานุกรม Oxford English Dictionary อธิบายว่ารากศัพท์ของคำนี้ มาจากคำว่า nzambi
ซึ่งหมายถึง เทพเจ้า ในความเชื่อของคนพื้นเมือง ในเขตแอฟริกาตะวันตก นักวิชาการบางคน ตั้งข้อสังเกตว่าคำว่าZombie อาจมีรากมาจากคำว่า mvumbi ซึ่งชาวคองโก ใช้เรียกผีและวิญญาณของคนตาย
และคำว่า nvumbi หมายถึงร่างที่ไร้วิญญาณ (Laws, 2018) หนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรก ที่พูดถึงความเชื่อเกี่ยวกับ Zombie และลัทธิ Voodoo คือ The Magic Island (1929) เขียนโดย นักเดินทางชาวอเมริกัน ชื่อ William Seabrook ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของชาวตะวันตกที่ได้พบเจอกับ ลัทธิVoodoo ในประเทศเฮติ
อย่างไรก็ตาม คำว่าZombie ถูกทำให้แพร่หลาย โดยผู้ชมภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวอเมริกัน George A. Romero ซึ่งสร้างภาพยนตร์เรื่อง Night of the Living Dead ในปี ค.ศ.1968
โดยได้แรงบันดาลใจ มาจากนิยายเรื่อง I Am Legend ที่เขียนในปี ค.ศ.1954 โดย Richard Matheson หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ ออกฉายทั่วสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ
ผู้ชมภาพยนตร์ต่างเรียก ศพที่เดินได้ว่าZombie นับแต่นั้น ความเข้าใจและการรับรู้ ความหมายเกี่ยวกับซอมบี้ จะเป็นสิ่งเดียวกับ คนตายที่ฟื้นคืนชีพ หรือเป็น ผีดิบที่ดุร้ายน่ากลัว
ซอมบี้ตัวจริงในประวัติศาสตร์ ซอมบี้ เกิดจากเชื้อร้ายชนิดใด
เชื้อร้ายและ ซอมบี้ ซอมบี้ตัวจริงในประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม และนิยามแฝงของวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ในวรรณคดีและภาพยนตร์ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากความเป็นจริงในชีวิตประจำวันของมนุษย์
โดยแรกเริ่มจะพบเห็นการใช้คำว่าเชื้อร้าย ในนิยายสยองขวัญของแฮมเบิร์ก แต่คำนี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นการอธิบาย สิ่งมีชีวิตที่สิ้นพระชนม์ จนกระทั่งในช่วงปี 1912 ที่ชื่อของเชื้อราสาเหตุของโรคปากและเท้าเปื่อย (Fusarium oxysporum) ได้ถูกใช้เป็นคำนำหน้า เชื้อร้าย ในวรรณคดีและหนังสือการ์ตูน
ส่วนซอมบี้ (Zombie) มีต้นกำเนิดจากวรรณคดี และตำนานชาวเอฟริกา ก่อนที่จะเข้ามาเป็นที่รู้จักกัน ในวงการภาพยนตร์และทีวี เรื่องราวของซอมบี้ได้รับการเขียนลงในนิยายและการ์ตูน อย่างแพร่หลายในตอนแรก
แต่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่แพร่หลายในภาพยนตร์และ ดูซีรี่ย์ ทีวี โดยมีแง่มุมและตำนานต่างๆ ในแต่ละวรรณคดี และประเพณีของแต่ละชนเผ่าต่างๆ ซึ่งทำให้ไม่มีตอบแทนเดียวกันว่า ซอมบี้ นั้นมาจากไหนในประวัติศาสตร์
ซอมบี้ตัวจริงในประวัติศาสตร์ ร่างไร้วิญญาณถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพของนักบวชลัทธิวูดู มีจริงหรือไม่
ในวัฒนธรรมของคนผิวดำ ในประเทศเฮติ ซึ่งเชื่อในเวทมนต์คาถาและ ลัทธิVoodoo ลัทธินี้ก่อตัวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม ของชาวแอฟริกันตะวันตก เข้ากับความเชื่อแบบคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาธอลิก (Apter, 2002; Blier, 1995; Desmangles, 1992)
หลักสำคัญของความเชื่อในลัทธิVoodoo คือ การรับใช้วิญญาณที่มีนามว่า ไอวา ซึ่งเป็นวิญญาณของเทพเจ้า ที่นับถือกันแพร่หลายในเขตแอฟริกาตะวันตก เทพเจ้าไอวา เป็นนักบุญที่คอยรับใช้พระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ นามว่า Bondyé
รวมทั้ง จะทำหน้าที่ช่วยพาวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์ ชาวเฮติ จะมีพิธีกรรมบูชานักบุญไอวา ในโบสถ์อย่างสม่ำเสมอ เครื่องเซ่นสังเวย ได้แก่ ผลไม้และสัตว์ที่ถูกฆ่า
เครื่องเซ่นนี้ ยังถวายให้กับวิญญาณของผู้ล่วงลับ สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในพิธีกรรม คือการตีกลอง การร้องเพลง และเต้นรำ เพื่อเป็นการเชิญวิญญาณ ของนักบุญไอวาเข้ามาสิงร่างของมนุษย์
เมื่อนักบุญไอวาเข้าสิงร่างแล้ว จะมีการให้คำทำนาย และชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับมนุษย์ ในช่วงที่ชาวเฮติ ต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพ จากการปกครองของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1791 ถึง ค.ศ.1804 ชาวเฮติที่เชื่อในลัทธิ Voodoo คือกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก
ในคติความเชื่อของคนผิวดำในเฮติ คนตายที่ถูกปลุกให้มีชีวิต โดยเวทมนต์คาถาของหมอผี (bokor) จะรู้จักในนาม ซอมบี้ หมอผีคือผู้ที่สามารถควบคุมคนตายให้ทำสิ่งต่างๆได้ตามความต้องการ
Zombieจึงเปรียบเสมือน ผู้รับใช้และบริวารของหมอผี นอกจากนั้นชาวเฮติยังเชื่อ ในวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ซึ่งถูกเรียกว่า zombie astral เมื่อหมอผีใช้คาถาเรียกวิญญาณเหล่านี้
ซอมบี้ตัวจริงในประวัติศาสตร์ วิญญาณดังกล่าว ก็จะถูกควบคุมและช่วยเสริมพลัง ให้กับหมอผีมากขึ้น หมอผีจึงเป็นผู้พลังอำนาจที่แข็งแกร่ง ชาวเฮติที่ประสบปัญหา และต้องการให้หมอผีช่วย หมอผีก็จะเรียกวิญญาณ ที่อยู่ในการควบคุมให้ไปช่วยคนที่เดือดร้อน โดยแลกกับเงินและสินทรัพย์บางอย่าง (McAlister, 1995)
ในความคิดของชาวตะวันตก ศาสนาและความเชื่อของชาวเฮติ ถูกอธิบายเป็นความป่าเถื่อน ไม่ต่างกับคนป่าที่โหดเหี้ยม ที่เลวร้ายกว่านั้นคือ มองว่าชาวเฮติเป็น มนุษย์กินคน (cannibal) (Laguerre, 1989) ในปี ค.ศ. 1685
กษัตริย์ฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีนโยบาย ห้ามมิให้ชาวเฮติประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใน ลัทธิวูดู และให้เจ้านายผิวขาว นำทาสในปกครองของตนมาเข้าพิธีเปลี่ยนศาสนา ให้เป็น ตำนานเงือก คริสเตียน
แต่ในทางปฏิบัติเจ้านาย และข้าราชาการชาวฝรั่งเศส ไม่สนใจและเพิกเฉย ต่อการทำให้ทาสกลายเป็นชาวคริสต์ เนื่องจากเห็นว่า ทาสไม่เข้ามาทำพิธีกรรมในโบสถ์ร่วมกับคนผิวขาว และไม่ต้องการให้ทาส มาชุมนุมกันจำนวนมาก
นโยบายดังกล่าวจึงล้มเหลว ชาวเฮติยังคงนับถือ และประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของพวกเขา ในพื้นที่ลับๆ ในช่วงเวลาค่ำคืน เพื่อมิให้คนผิวขาวพบเห็นและเข้ามาขัดขวาง (Desmangles, 1990) ลัทธิวูดูจึงแฝงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวเฮติ และถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ ที่บ่งบอกถึงการ กดขี่ข่มเหงของคนผิวขาว ที่กระทำต่อพวกเขา (McAlister, 2017)
ในช่วงสมัยของประธานาธิบดี François Duvalier ซึ่งปกครองเฮติระหว่างปี ค.ศ. 1957-1971 ถือเป็นยุครุ่งเรืองของลัทธิVoodoo เนื่องจากประธานาธิบดีเชื่อว่าอัตลักษณ์และเอกภาพของชาวเฮติเกิดจากลัทธิVoodooในท้องถิ่นต่างๆ
จึงมีการสร้างเครือข่ายของลัทธิVoodoo จำนวนมาก ในช่วงทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา เมื่อชาวเฮติอพยพเพื่อหนีภัยทางการเมืองเข้าไปอยู่ในสหรัฐอเมริกา ความเชื่อในลัทธิ Voodoo ก็ได้รับความสนใจ และถูกนำไปปฏิบัติในกลุ่มชาวแอฟริกันอเมริกัน โดยเฉพาะในเมืองนิว ออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียน่า
ซอมบี้ ร่างไร้วิญญาณถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพของนักบวชลัทธิวูดู กับลัทธิอาณานิคม
การทำความเข้าใจซอมบี้ ผ่านสื่อภาพยนตร์ ช่วยให้เห็นจินตนาการทางสังคม ที่ซอมบี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ทางสังคม เช่น การศึกษาของ McAlister (2017) พบว่าเรื่องราวของซอมบี้ ในภาพยนตร์สะท้อนตัวละคร อสูรกาย ในยุคสมัยใหม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับลัทธิอาณานิคมในประเทศเฮติ
ความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาของชาวเฮติ ขัดแย้งกับความรู้วิทยาศาสตร์ของชาวตะวันตก ความสัมพันธ์ที่คนผิวขาว มีต่อคนพื้นเมืองในเฮติดำรงอยู่ภายใต้ระบบการค้าทาส และการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
โดยชาวฝรั่งเศสได้นำแรงงานทาสจากแอฟริกา มาทำงานในไร่อ้อยและกาแฟในเฮติ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ความสัมพันธ์นี้ แบ่งแยกช่วงชั้นระหว่างคนผิวขาวที่มีฐานะเหนือกว่า กับทาสชาวผิวดำที่มีฐานะต่ำกว่า
ชาวเฮติจึงอยู่ในสภาพเสียเปรียบ และพยายามต่อสู้ขัดขืน เพื่อที่จะให้ตนเองได้รับอิสรภาพ บ่อยครั้งจึงเกิดการประท้วงและการจราจล ประกอบกับความลี้ลับทางศาสนาของคนพื้นเมือง ยิ่งทำให้คนผิวขาวระแวงสงสัย และหวาดกลัวชาวเฮติ ที่อาจลุกขึ้นมาใช้กำลังและเข่นฆ่าคนผิวขาวได้ตลอดเวลา สภาวะดังกล่าวถูกผู้สร้างภาพยนตร์ชาวตะวันตก นำไปสร้างจินตนการเกี่ยวกับศพ ที่ถูกทำให้มีชีวิตใหม่โดย เวทมนต์ของชาวเฮติ
McAlister (2017) วิเคราะห์ว่า ภาพยนตร์ซอมบี้ ที่แพร่หลายในสังคมตะวันตก คือสัญลักษณ์ของการเชิดชูคนผิวขาว และวิธีการที่คนผิวขาว กำลังใช้ความตายเป็นสินค้าเพื่อความบันเทิง
เรื่องราวของซอมบี้ ยังสะท้อนให้เห็นการต่อสู้กัน ระหว่างชีวิตกับความตาย การกดขี่ข่มเหงและการเป็นอิสระ การแบ่งแยกเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ รวมถึงความพยายามที่จะธำรงรักษาร่างกาย และตัวตนให้คงสภาพเดิมเอาไว้ เรื่องราวเหล่านี้คือโลกทัศน์แบบตะวันตก ที่ความรู้วิทยาศาสตร์ แยกขาดจากความรู้ไสยศาสตร์
ซอมบี้ ร่างไร้วิญญาณถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพของนักบวชลัทธิวูดู ในมิติสังคม ซอมบี้ตัวจริงในประวัติศาสตร์
การศึกษา ร่างไร้วิญญาณถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพของนักบวชลัทธิวูดู ของ Hoermann (2015, 2016) อธิบายว่า ชาวเฮติถูกปกครอง โดยชาวฝรั่งเศสตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ชาวเฮติลุกขึ้นต่อสู้ เพื่อทวงคืนอิสรภาพโดยใช้เวลาต่อสู้ยาวนาน 12 ปี ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1791 -1804
ในที่สุดก็ได้รับชัยชนะและถือเป็นการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ของการค้าทาส (Nesbitt, 2008) ชัยชนะของชาวเฮติ ถือเป็นความกล้าหาญและทำให้เกิดการทบทวนว่า คนพื้นเมืองผิวดำมิใช่ผู้ที่อ่อนแอและไร้สติปัญญา
สิ่งนี้ได้สั่นคลอนความเชื่อมั่นของชาวตะวันตก ที่มักเชื่อว่าเผ่าพันธุ์ของตนเองยิ่งใหญ่ และฉลาดที่สุด (Fisher, 2004; Singham, 1994) การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาวเฮติ ให้เป็นอิสระจากอำนาจของคนผิวขาว ถูกมองในฐานะเป็นความน่ากลัวสยดสยอง ในช่วง ปฏิวัตินักบวช
ผู้สอนศาสนาและมิชชานรี ในศาสนาคริสต์ ถูกสังหารโดยชาวเฮติจำนวนมาก โบสถ์คริสต์หลายแห่ง ถูกทิ้งล้างทำให้ชาวเฮติ เข้าไปใช้เป็นพื้นที่ ประกอบพิธีตามความเชื่อในลัทธิ Voodoo เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสหวาดผวา และมองชาวเฮติเป็น ปีศาจ และ อสูรกายที่โหดเหี้ยม
ต่อมาในทศวรรษ 1910-1930 ชาวเฮติ ก็ถูกปกครองโดยชาวอเมริกันอีกครั้ง และเป็นช่วงเวลา ที่วัฒนธรรมและความเชื่อของชาวเฮติ ถูกให้ความหมายเป็นความน่ากลัว ที่ดำรงอยู่ในจินตนาการ เกี่ยวกับเวทมนต์คาถา ที่ปลุกคนตายให้ฟื้นขึ้นมา กลายเป็นซอมบี้
ความหมายนี้ผูกโยง อยู่กับอำนาจของชาวอเมริกัน ที่ผลิตซ้ำวาทกรรมเกี่ยวกับ ซอมบี้ตัวจริงในประวัติศาสตร์ ความดุร้ายน่ากลัวของชาวเฮติ วาทกรรมนี้มีอิทธิพลมาก และแพร่หลายไปในสื่อภาพยนตร์ (Dash, 1997)
จะเห็นได้ว่า ซอมบี้หรือคนตายที่ฟื้นคืนชีพ คือผลผลิตทางสังคมและวัฒนธรรม ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยจินตนาการของคนผิวขาว ที่มองคนผิวดำเป็นคนป่าเถื่อนและเหี้ยมโหด รวมถึงการดูหมิ่นศาสนา และความเชื่อของคนผิวดำ ว่าเป็นความไร้เหตุผล