หนอนมรณะมองโกเลีย สัตว์ที่อยู่ในความเชื่อของชาวมองโกล

หนอนมรณะมองโกเลีย

หนอนมรณะมองโกเลีย เป็นที่รู้จักครั้งแรกของชาวตะวันตก เมื่อปี ค.ศ. 1926 เมื่อนักสำรวจและนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกันชื่อ รอย แชพแมน แอนดรูว์

หนอนมรณะมองโกเลีย ลักษณะของหนอนมรณะโกเลีย กล่าวคือ มีความยาวประมาณ 2–5 ฟุต หรือยาวและใหญ่ได้มากกว่านั้น มีลำตัวสีแดงคล้ายเลือด ลำตัวคล้ายไส้กรอกและเป็นปล้อง ๆ มองเห็นชัดเจน แทบแยกไม่ออกระหว่างส่วนหัวและหาง

เป็นสัตว์ดุร้ายกินสัตว์อื่นด้วยการโจมตีเป็นอาหาร โดยการพ่นกรดกำมะถันสีเหลืองใส่เหยื่อ รวมถึงมนุษย์ได้ อีกทั้งยังเล่ากันอีกว่า มันสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อสังหารเหยื่อคล้ายปลาไหลไฟฟ้าที่พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในอเมริกาใต้ได้อีกด้วย

มีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับหนอนมรณะมองโกเลียของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายโกบี เช่น มีชายผู้หนึ่งที่เคยเป็นล่ามให้กับกองทหารรัสเซีย ครั้งหนึ่งเคยนั่งรถไปกับทหารคนหนึ่ง ทันใดนั้นก็พบกับวัตถุประหลาดบางอย่างสีเงิน ทหารคนนั้นก็หยุดรถและเดินเข้าไปใกล้ เขาตะโกนว่ามันอันตราย แต่ทหารคนนั้นไม่ฟังและได้ราดน้ำมันลงใส่สิ่งนั้น

ทันใดนั้นมันก็ระเบิดออก, หญิงชราผู้หนึ่งเล่าว่าเธอเคยเห็นมันในระยะไกล ๆ ในสมัยที่เธอยังเป็นเด็ก, มีเรื่องเล่ากันว่าขณะที่มีฝูงอูฐเดินข้ามทะเลทราย อูฐตัวหนึ่งได้เดินเหยียบหนอนมรณะมองโกเลียเข้า มันก็ระเบิดตัวออกพร้อมกับพ่นสารเคมีบางอย่างใส่ ทำให้ขาของอูฐเป็นรอยแผลไหม้, หรือชายเร่รอนกลุ่มหนึ่งขณะเดินข้ามทะเลทราย

ชายคนหนึ่งในกลุ่มก็เจอกับหนอนมรณะมองโกเลีย เมื่อเดินเข้าไปใกล้ มันก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าใส่จนชายคนนั้นเสียชีวิตทันที และเมื่อคนอื่น ๆ วิ่งเข้าไปช่วยก็เจอแบบเดียวกัน จนเสียชีวิตทั้งหมดและมีผู้เหลือรอดชีวิตมาได้เพียงคนเดียวเท่านั้น

หรือชายผู้หนึ่งที่อ้างว่าเมื่อตนเองอายุได้ 12 ขวบ ขณะที่ต้อนฝูงแกะอยู่ ทันใดนั้นแกะตัวหนึ่งก็เกิดอาการหวาดกลัวเมื่อเจอกับหนอนมรณะมองโกเลีย เขาได้เข้าใกล้มันอย่างกลัว ๆ กล้า ๆ และใช้ไม้เขี่ยดู ปรากฏว่ามันยกส่วนหัวขึ้นใส่ทันที

เขาตกใจและวิ่งหนีไป ชายคนนี้อ้างว่า เขาเห็นมันมีอวัยวะเหมือนตาเล็ก ๆ อยู่ด้านข้างด้วย แต่กลับไม่เห็นอะไรที่จะมองออกว่าเป็นส่วนปาก นับว่าเป็นรูปลักษณะของหนอนมรณะมองโกเลียที่แตกต่างออกไปจากที่เล่า ๆ กัน

และยังมีความเชื่อว่า หนอนมรณะมองโกเลียชอบกินพืชทะเลทรายมีพิษชนิดหนึ่งที่เรียกว่า มาโย