คดีหมอผัสพร ประวัติของ แพทย์หญิง ผัสพร
คดีหมอผัสพร ย้อนกลับไป คดีนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2544 เมื่อ นายแพทย์ วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ได้เข้าไปแจ้งความ ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวนพญาไท ว่า ภรรยาตัวเองคือ พญ.ผัสพร ได้หายตัวไป
ตำรวจสืบพบว่า ก่อนที่พญ.ผัสพร ภรรยาของคุณหมอจะหายตัวไปนั้น หมอวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นผู้แจ้งความ ได้พา หมอผัสพร ไปรับประทานอาหารที่ ร้านโออิชิ ในศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ โดยมีกล้องวงจรปิดจับภาพ คุณหมอวิสุทธิ์ ประคองร่างคุณหมอผัสพร ออกจากร้านไป
จากนั้น ก็ไม่มีใครได้พบกับ คุณหมอผัสพรอีกเลย
และนี่ ก็คือจุดเริ่มต้นของการคลี่คลายคดี
โดยนายแพทย์วิสุทธิ์ ได้ใช้ยานอนหลับ ผสมในอาหารและเครื่องดื่ม ให้ภรรยากินจนเกิดอาการง่วงนอน มึนงง จากนั้นคุณหมองได้ประคอง พญ.ผัสพร ออกจากห้องอาหารท่ามกลางผู้คนที่มารับประทานอาหารภายในร้าน ถ้าไม่สังเกตุให้ดี ไม่มีใครจะคาดคิดว่า คุณหมอผัสพร จะถูกวางยาด้วยฝีมือคุณหมอวิสุทธิ์ กลางร้านอาหาร เช่นนี้
จากนั้นหมอวิสุทธิ์ได้ กักขังหน่วงเหนี่ยว คุณหมอผัสพร ไว้ที่ห้องพักเลขที่ 318 อาคารวิทยนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะใช้ของแข็งมีคม ทำการประทุษร้ายร่างกายคุณหมอผัสพร จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
และใช้มีด ผ่าแล่ชิ้นเนื้อและ อวัยวะต่างๆ จากศพ ก่อนศพไปทำลาย ขณะเดียวกัน ได้เปิดห้องพักเลขที่ 1631 โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัลพลาซา แล้วได้ยักย้ายซ่อนเร้นศพ นำชิ้นเนื้อ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของศพไปฝัง ไปทิ้งในสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นการซ่อนเร้นทำลายศพ ปิดบังการตายและเหตุแห่งการตาย
จากนั้นวันที่ 21 ก.พ. 2544 หมอวิสุทธิ์ ได้ทำหนังสือขอลางานฉบับปลอม ของ แพทย์หญิงผัสพร เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าพญ.ผัสพร ได้ทำขึ้นจริง และเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ของบุคคลที่ใกล้ชิดคุณหมอ ให้คิดว่า ศยามลคดี ยังมีชีวิตอยู่
แต่ที่ไม่ได้พบเห็นผู้ตายนั้น เพราะผู้ตายไปประกอบศาสนกิจปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ฝึกจิตใจ ภายหลังจากที่นายนแพทย์วิสุทธิ์ ได้ทำเอกสารปลอมได้ใช้และอ้างเอกสารหนังสือ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้น ยื่นต่อหัวหน้างานผู้ตาย คือ นายสุรังษี จงวิวัฒน์สุนทร
และได้ปลอมจดหมายถึง นายชัชวาล และ นางสาวกิ่งกาญจน์ บุญเกษมสันติ ลูกสาวและลูกชายของคุณหมอ เพื่อให้บุตรทั้งสองและผู้อื่นหลงเชื่อว่าเอกสารปลอมดังกล่าว แพทย์หญิงผัสพร ได้ทำขึ้นจริง และเพื่อเบี่ยงเบน ความสนใจของลูกๆ มังงะ ทั้งสอง และบุคคลที่ใกล้ชิด
จนได้มาเจอหลักฐานชิ้นสำคัญ เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2544 พนักงานสอบสวน เข้าตรวจสอบที่ห้องพักเลขที่ 318 อาคารวิทยนิเวศน์ พบคราบเลือดที่ผ้าม่านและพบชิ้นเนื้อ ในบ่อพักสิ่งปฏิกูล น้ำหนัก 330 กรัม จนสามารถสืบทราบว่า จำเลยได้เปิดห้อง แทงบอลโลก ที่โรงแรมโซฟิเทล ก่อนเข้าตรวจค้นพบชิ้นเนื้อมนุษย์ในบ่อพักสิ่งปฏิกูล
จากการชันสูตรชิ้นเนื้อ ของเจ้าหน้าที่ สถาบันนิติเวช ที่อาคารวิทยนิเวศน์ ได้พบว่า เป็นเศษชิ้นเนื้อบริเวณลำตัว ของกระบังลม ผนังลำไส้ พังผืดไขมัน และยังพบชิ้นส่วน บริเวณต้นขาและแขน หนักอยู่ที่ 3,330 กรัม ซึ่งชิ้นเนื้อดังกล่าว ถูกแล่ด้วยของมีคมลักษณะประณีต เสียชีวิตมาประมาณ 3-4 อาทิตย์ ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่คุณหมอผัสพร ได้หายตัวไป จึงสามารถระบุได้ว่าเป็น เนื้อเยื่อจากศพผู้ตาย ที่เกิดจากการฆาตกรรมอำพราง
หลักฐานจากวิดีโอ กล้องวงจรปิด ภายใน ร้านโออิชิ ประกอบกับหมายเลขโทรศัพท์ ของหมอวิสุทธิ์ ซึ่งได้ติดต่อกับ คุณหมอผัสพร ก่อนจะหายตัวไปครั้งสุดท้าย อีกทั้ง พนักงานในร้าน ยังระบุว่า เห็นหมอวิสุทธิ์นั่งอยู่ที่ร้านกับ คุณหมอผัสพร ก่อนที่จะเดินคล้องแขนกับภรรยา ออกไปในลักษณะพยุง และพบพิรุธในจดหมายลางาน
เนื่องจากคุณหมอผัสพร ไม่ชอบพิมพ์ดีดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และได้รับคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่รับพิมพ์งาน ในย่านดังกล่าว ระบุว่า นายแพทย์วิสุทธิ์ได้ว่าจ้างให้พิมพ์จดหมาย และจ่าหน้าซองจดหมายรวม 2 ฉบับ ฉบับแรก ส่งให้ ผอ.โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร อีกฉบับ ส่งให้ลูกๆ โดยลงชื่อว่า แพทย์หญิงผัสพร อีกทั้งบุคคลทั้งสอง มีเรื่อง ทะเลาวิวาท กันอย่างรุนแรง มาก่อนหน้านี้
จาก พยานหลักฐานบุคคล และ พยานแวดล้อม รวมทั้ง ผลการพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ จึงมีน้ำหนักเพียงพอ ที่ทำให้ศาลชั้นต้นเชื่อว่า หมอวิสุทธิ์ เป็นผู้ลงมือ ฆ่าหั่นศพ คู่สมรสของตัวเองจริง
7 ต.ค. 2546 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ ประหารชีวิต หมอวิสุทธิ์ โดยให้เหตุผลว่า “จำเลยเป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงย่อมจะใช้สติยั้งคิด ในการแก้ปัญหา โดยไม่ใช้วิธีดังกล่าว และเมื่อจำเลยถูกจับกุมก็ยังไม่สำนึกผิด ให้การปฏิเสธต่อสู้คดีตลอดมา จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องปรานี เห็นควรลงโทษสถานหนัก พิพากษาประหารชีวิตจำเลยสถานเดียว”
เหตุจูงใจอันใด ที่ทำให้ นายแพทย์วิสุทธิ์ มีเรื่องขัดแย้งกับ หมอผัสพร
ในทางชั้นศาล ภายหลังการต่อสู้คดี เป็นเวลา 2 ปี ในที่สุด วันที่ 10 พฤศจิกายน 46 ศาลชั้นต้น ได้อ่านคำพิพากษา สรุปใจความว่า พฤติกรรมของจำเลยต่างๆ เกี่ยวข้องกันตั้งแต่จำเลยหายไปตั้งแต่แรก โดยพฤติกรรมจำเลย แสดงให้เห็นถึงเจตนา และการวางแผนอย่างอย่างละเอียดไว้ล่วงหน้า
ตั้งแต่การนัดผู้ตาย ไปรับประทานอาหารที่ร้านโออิชิ และเปิดห้องพักที่อาคารวิทยนิเวศน์ ซึ่งอยู่ใกล้กับ ร้าน OICHI โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 10-15 นาที และจำเลยยังไม่คืนกุญแจห้องพัก
ล้วนสอดคล้องเชื่อมโยงกับการที่ผู้ตายหายตัวไป มีการฆ่าหั่นเพื่อซ่อนเร้นทำลายศพในห้องน้ำดังกล่าว โดยให้ผู้ตายกินยาดอมิคุมจนมีอาการเหม่อลอย แล้วนำตัวไปที่อาคารวิทยนิเวศน์ก่อน ฆ่าชำแหละศพ แล้วซื้อถุงดำจำนวนมาก กระดาษทิชชู ก้อนน้ำยาดับกลิ่นจากห้างโรบินสันสีลม เพื่อนำมาใส่ชิ้นส่วนที่ชำแหละแล้ว ก่อนทำจดหมายลางานปลอม
แม้ว่าจะไม่พบกะโหลกศีรษะและกระดูกของผู้ตายหรือมีประจักษ์พยาน แต่ก็เพราะจำเลยได้วางแผนแล้วและปกปิดวิธีการอำพรางคดีไว้อีก ทั้งจำเลยและผู้ตายเคยมีสาเหตุทะเลาะเบาะแว้งกัน จึงมีสาเหตุให้จำเลยฆ่าผู้ตายได้ ข้อปฏิเสธของจำเลยเป็นเพียงข้อปฏิเสธลอยๆไ ม่มีน้ำหนักมาหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
ทั้งที่จำเลยเป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูง ย่อมจะใช้สติยั้งคิดในการแก้ปัญหา โดยไม่ใช้วิธีดังกล่าว และเมื่อจำเลยถูกจับกุมก็ยังไม่สำนึกผิด ให้การปฏิเสธต่อสู้คดีตลอดมาจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องปรานี เห็นควรลงโทษสถานหนัก พิพากษาประหารชีวิตจำเลยสถานเดียว
บทสรุป ของคดีนี้ จะจบอย่างไร
ต่อมา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนให้ประหารชีวิต นายแพทย์วิสุทธิ์ โดยศาลอุทธรณ์เห็นว่า ประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่พบมีการชันสูตรพลิกศพ แต่เมื่อชิ้นเนื้อมนุษย์ ที่พบในบ่อพักที่อาคารวิทยนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัลพลาซา
ซึ่งเมื่อส่ง ผู้ชำนาญการด้านนิติเวชวิทยา ตรวจพิสูจน์แล้วลงความเห็นตรงกับว่า เป็นชิ้นเนื้อของผู้ตายจริง นอกจากนั้น จากการตรวจชิ้นเนื้อและคราบโลหิตที่พบในห้องพักเลขที่ 318 อาคารวิทยนิเวศน์ ก็ตรงกับดีเอ็นเอของแพทย์หญิงผัสพร
ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า DNA และชิ้นเนื้อได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่นั้น ศาลพิเคราะห์จากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุอันใดที่พนักงานสอบสวนจะกลั่นแกล้งจำเลย อีกทั้งก็ไม่มีเหตุขัดแย้งกับจำเลยมาก่อน
ส่วนดีเอ็นเอ ที่จำเลยอ้างว่ าเป็นการเร่งรัดตรวจพิสูจน์และไม่เป็นธรรม ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่มีความไม่โปร่งใสแต่อย่างใด
ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าแพทย์หญิง ผัสพร เสียชีวิตจริงหรือไม่ ศาลเห็นว่าจากเนื้อเยื่อและผลพิสูจน์ดีเอ็นเอที่ปรากฏในสำนวนคดี รับฟังได้ว่าแพทย์หญิงผัสพรเสียชีวิตแล้ว
นอกจากนี้ มีพยานหลักฐาน ระบุได้ว่าจำเลยได้นำตัวผู้ตายไปขังไว้ที่ห้องพัก 318 อาคารวิทยนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะลงมือฆ่า อันเป็นการกระทำความผิดฐาน ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และกระทำความผิดฐาน ซ่อนเร้นทำลายศพ และปลอมแปลงเอกสาร จดหมายลางานของผู้ตาย
ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ไม่มีเหตุจูงใจให้ฆ่าภรรยาตนเอง จากการนำสืบพยานรับฟังได้ว่า จำเลยและผู้ตายมีเรื่องบาดหมางกันมาโดยตลอด โดยจำเลยขอหย่าขาดจากผู้ตาย แต่ผู้ตายไม่ยอมเพราะเป็นห่วงบุตรทั้ง 2 คน ประกอบกับ ผู้ตายจับได้ว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ กับคนไข้ที่มีสามีแล้ว
โดยผู้ตายขู่ว่า จะนำเรื่องที่เกิดขึ้นไปยื่นฟ้อง แพทยสภา จนเป็นเหตุทำให้จำเลยมีเรื่องขัดแย้งกับผู้ตายและข่มขู่ผู้ตายมาโดยตลอด ดังนั้น อุทธรณ์ทุกข้อของจำเลยฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ประหารชีวิตจำเลยสถานเดียว
และในที่สุด การต่อสู้ทางคดีเดินมาถึงชั้นฎีกา ในวันที่ 25 ก.ค. 50 ศาลฎีกาได้พิพากษายืน ประหารชีวิตสถานเดียว ต่อมาหมอวิสุทธิ์ ได้ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญนถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษ และเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ปีเดียวกัน ก็มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2550 โดย นายแพทย์วิสุทธิ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษเหลือ จำคุกตลอดชีวิต
ยังไงก็ตามแต่ ชีวิตในเรือนจำคุณหมอวิสุทธิ์ ได้รับการอภัยโทษหลายครั้ง เนื่องจากปฏิบัติตัวดี เคยได้ทำเรื่องถึงกรมราชทัณฑ์ขอพักโทษ และกรมราชทัณฑ์ได้ส่งเรื่องให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณา ซึ่งมีคณะกรรมการพิจารณาได้อนุมัติให้นายแพทยท์วิสุทธิ์ พักโทษได้ สุดท้ายมาถึงวันนี้จึงมีการปล่อยตัว โดย หมอวิสุทธิ์ หมอผู้เลือดเย็น ถูกจำคุกเป็นระยะเวลาเพียงแค่ 10 ปี 9 เดือน