เทศกาลกินเจ เทศกาลกินเจภูเก็ตเมืองต้นตำรับเทศกาลกินผัก

เทศกาลกินเจ

เทศกาลกินเจ ประวัติประเพณีกินผัก จังหวัดภูเก็ต

เทศกาลกินเจ เดิมประเพณีกินผักหรือ เจี๊ยะฉ่าย ที่ชาวบ้านและชาวจีนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า เทศกาลกินเจจังหวัดภูเก็ต กินผัก นั้น เป็นลัทธิเต๋า ซึ่งนับถือ บูชาเซียนเทวดา เทพเจ้า วีรบุรุษเป็นประเพณีที่คนจีนนับถือมาช้านาน โดยเฉพาะคนจีนฮกเกี้ยน คำว่าเจี๊ยะฉ่าย แบลว่ากินผัก เป็นภาษาท้องถิ่น วันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เก้าโง้ยโฉ่ยอีดถึงโฉ่ยเก้า ตามปฏิทินจีนของทุกๆปี

ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ไล่ทู หรือตำบล ในทู ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะทู้ ตำบลกะทู้ จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน คนจีนเหล่านั้นได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการค้าขายแร่ดีบุกกับปอร์ตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น

คนจีนเหล่านั้นได้หลั่งไหลเข้ามามากที่สุดก่อนปี พ.ศ.2368 คือหลังจากเมืองภูเก็ตและเมืองถลางถูกพม่ารุกรานเมื่อปี พ.ศ.2352 พลเมืองได้กระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆ ครั้นพระยาถลาง (เจิม)ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองถลาง และได้ตั้งเมืองภูเก็ตที่บ้านเก็ตโฮ่ ให้พระภูเก็ต มาเป็นเจ้าเมือง ระหว่าง พ.ศ. 2368-2400

พื้นที่รอบๆในทู กะทู้ อุดมสมบรูณ์ไปด้วยแร่ดีบุก จึงทำให้คนจีนหลั่งไหลเข้ามา ขุดแร่ดีบุก เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนที่อพยพมาจากเมืองถลางเดิมที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และที่อพยพมาจาก มณฑลฮกเกี้ยน ซัวเถา และ เอ้หมึง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน

โดยอาศัยเรือใบผ่านมาทางแหลมมาลายู เป็นต้น หมู่บ้านในทูในสมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ มีไข้ป่า ตลอดจนภยันตรายต่างๆ จากสัตว์ป่ามากมาย แต่ผู้คนและชาวจีนในหมู่บ้านในทูกลับเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก

คนจีนที่อยู่ในทูสมัยนั้น มีความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องเทพเจ้าประจำตระกูลหรือเทพเจ้าที่คุ้มครองประจำหมู่บ้าน เช่น เทพยดาฟ้าดิน เซียนต่างๆ รวมถึง บรรพบุรุษของตนเองมาก่อนแล้ว เมื่อมีเหตุเภทภัยเกินขึ้นจึงได้มีการ อัญเชิญเทพเจ้า แต่ละพระองค์ ที่ตนนับถือบูชากราบไหว้ เทศกาลกินเจของจังหวัดภูเก็ต ให้มาคุ้มครองปกป้องรักษาตน หรือพวกพ้องที่ได้ทำมาหากินในท้องถิ่นที่ตนพำนักอาศัยให้คนเหล่านั้นอยู่ เย็นเป็นสุขโดยทั่วกันและความเชื่อนี้ยังคงยึดถือจนตราบเท่าทุกวันนี้

เทศกาลกินเจ ทำไมถึงได้เกิดเทศกาลนี้ขึ้น

ต่อมาได้มี คณะงิ้ว เปะหยี่หี่ ที่ได้เดินทางมาจากประเทศจีนมาเปิดแสดงที่บ้านในทู คณะงิ้วนี้สามารถแสดงอยู่ได้ตลอดปี เนื่องจากเศรษฐกิจของชาวในทู กรรมกรจีน รวมถึงร้านค้า มีรายได้ดีมาก ในขณะนั้น ต่อมาปรากฏว่ามีตึกดิน 26 หลัง และโรงร้าน 112 หลัง จึงสามารถอุดหนุนงิ้วคณะนี้ได้ตลอดปี

หลังจากคณะงิ้วได้เปิดทำการแสดง อนิเมะ อยู่ที่บ้านในทูระยะหนึ่ง ได้เกิดมีการเจ็บป่วยเป็นไข้ และจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ทำให้คณะงิ้วนึกขึ้นได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย เทศกาลกินผัก ซึ่งเคยปฏิบัติ เทศกาลกินเจจังหวัดภูเก็ต กันมาทุกปีที่เมืองจีน และปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอึ่งตี่ฮ่องเต้ เป็นต้นมา

จึงได้ปรึกษาหารือในหมู่คณะ และได้ตกลงกันประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย ขึ้นที่โรงงิ้วนั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถลงเรือใบ หรือเรือสำเภาเดินทางกลับไปร่วมพิธีเจี๊ยะฉ่ายที่เมืองจีนได้ทันเพราะใกล้จะถึงวันประกอบพิธีแล้ว จึงได้ตกลงใจ ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย ขึ้นที่ โรงงิ้ว เพื่อขอขมาโทษด้วยสาเหตุ

ต่างๆต่อมาโรคภัยไข้เจ็บก็หายไปหมดสิ้น รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บที่เคยเบียดเบียดชาวในทู ก็ลดลงด้วยเช่นกัน เรื่องนี้สร้างความประหลาดใจให้แก่ชาวในทูเป็นอันมาก จึงได้สอบถามจากคณะงิ้วและได้คำตอบว่าพวกเขาได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายแบบย่อๆ เนื่องจากไม่มีผู้รู้และผู้ชำนาญในการจัดประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย เทศกาลกินผัก โดยเพียงแต่สักการะบูชากราบไหว้ขอขมาโทษ ระลึกถึงกิ้วอ๋องเอี๋ยหรือ กิ้วอ๋องต่ายเต่หรือพระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์นั้นเอง

คณะงิ้วยังได้แนะนำชาวจีนในทูต่อไปว่า การเชิญเทพเจ้ามาสักการะบูชา เทศกาลThaipusam เทศกาลกินเจ เทศกาลกินเจจังหวัดภูเก็ต เพื่อปกป้องตนเอง ครอบครัว และท้องถิ่น เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุขตามที่ได้ปฏิบัติกันมาแล้ว เป็นสิ่งที่ดีแต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็ควรจะเจี๊ยะฉ่ายถือศีล เทศกาลกินเจจังหวัดภูเก็ต ไปด้วย การเจี๊ยะฉ่ายไม่จำเป็นต้องปฏิบัติให้ครบทั้งเก้าวัน จะเจี๊ยะฉ่ายกี่วันก็ได้ตามแต่ศรัทธาและเหมาะสมของแต่ละครอบครัว

ชาวในทูและคนจีนส่วนใหญ่มีความเชื่อและเลื่อมใสได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะงิ้ว โดยได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย เทศกาลกินเจจังหวัดภูเก็ต ในปีต่อมา ประเพณีเจี๊ยะฉ่ายของเมืองภูเก็ตได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ในทูนั่นเอง ต่อมาจึงได้แพร่หลายออกไปตามสถานที่ต่างๆ

หลังจากชาวจีนในทูได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย เทศกาลกินเจจังหวัดภูเก็ต ได้ประมาณ 2-3 ปี โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด ทำให้ชาวจีนที่มาอาศัยทำเหมืองแร่อยู่ตามดงตามป่ามีความเชื่อและศรัทธาเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น

เทศกาลกินเจจังหวัดภูเก็ต มีการสืบทอดประเพณีมาจวบจนถึงปัจจุบัน

ก่อนคณะงิ้วจะย้ายไปทำการแสดงที่อื่น คณะงิ้วได้มอบรูปพระกิ้มซิ้น เทวรูป เล่าเอี๋ย เตียนฮู้หง่วนโส่ย ส่ามอ๋องฮู่อ๋องเอี๋ย ส่ามไถ้จือ และได้ให้คำแนะนำแก่ชาวจีนเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมโดยย่อๆ ในครั้งนั้นด้วยในช่วงระยะที่ชาวจีน กำลังประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายที่ท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฏนามเคยอาศัยอยู่ที่ มณฑลกังไส ได้เดินทางมาประกอบอาชีพในทู ได้เห็นการประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายของชาวจีน ไม่ถูกต้องตามแบบฉบับของฉ้ายตึ้ง ศาลเจ้าในมณฑลกังไส

จึงได้แจ้งให้ชาวจีนในทูทราบว่า ตนยินดีรับอาสาเดินทาง กลับไปมณฑลกังไสของประเทศจีน เพื่อไป เชี้ยเหี้ยวโห้ย อัญเชิญธูปไฟ และองค์ประกอบสำหรับพิธี แต่ไม่สามารถเดินทางไปได้เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ ชาวจีนในทูจึงได้ร่วมมือร่วมใจกันรวบรวมทุนทรัพย์ ให้กับผู้รู้ท่านนี้ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป มณฑลกังไส

อีก 2-3 ปีต่อมา ในระหว่างที่ชาวจีนในทู ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย เทศกาลกินเจ เทศกาลกินเจจังหวัดภูเก็ต แบบย่อๆ จนถึงวันขึ้น 7 ค่ำ วันเก้าโง้ยโฉ่ยฉีด ตามปฏิทินจีน เวลากลางคืน เรือใบจากประเทศจีนได้เดินทางมาถึงหัวท่าบ่างเหลียว หรือ บางเหนียวในปัจจุบัน ท่านผู้รู้ได้เดินทางกลับมากับเรือใบลำนี้ด้วยและได้ส่งคนมาแจ้งข่าวให้ชาวจีนในทูทราบว่า

บัดนี้ตนได้เดินทางกลับจากประเทศจีนมาถึงหัวท่าบางเหลียว พร้อมเชี้ยเหี้ยวเอี้ยน ผงธูป มาด้วยแล้ว ขอให้คณะกรรมการกับผู้ที่ร่วมประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย เทศกาลกินเจภูเก็ตเมืองต้นตำรับเทศกาลกินผัก ไปต้อนรับที่หัวบ่างเหลียวในวันเก้าโง้ยโฉ่ยโป๊ยคือวันรุ่งขึ้น

เหี้ยวโห้ย หรือ เหี้ยวเอี้ยนที่นำมาจากมณฑลกังไส ได้จุดปักไว้ใน เหี้ยวหล๋อ กระถางธูป โดยจุดธูปให้ติดตลอดระยะทางมิให้ดับ นอกจากนี้ยังได้นำแก้ง บทสวดมนต์ คัมภีร์ ตำราต่างๆ พร้อมทั้งป้ายชื่อเต้าโบ้เก้ง ป้ายติดหน้าอ๊ามฉ้ายตึ้ง

ปัจจุบันประเพณีเจี๊ยะฉ่าย เทศกาลกินเจภูเก็ตเมืองต้นตำรับเทศกาลกินผัก ของชาวภูเก็ตได้ปฏิบัติสืบทอดกัน มาทุกปีนับเวลาได้ หลายร้อยปีแล้วซึ่งถือว่าเป็นประเพณีอันดีงามของชาวภูเก็ต

การประกอบพิธีกรรม เทศกาลกินเจจังหวัดภูเก็ต มีอะไรบ้าง

พิธียกเสาโกเต้ง หนึ่งพิธีกรรมที่เป็นสัญญาณบ่งบอกให้รู้ว่า เทศกาลกินเจภูเก็ตเมืองต้นตำรับเทศกาลกินผัก เทศกาลถือศีลกินผัก ได้เริ่มขึ้นแล้ว การประกอบพิธีอัญเชิญ องค์ยกฮ่องซ่งเต่ หรือ พระอิศวร และ องค์กิ๋วอ๋องไต่เต่ หรือพระราชาทั้งเก้า มาเป็นประธานในพิธี โดยจะนำตะเกียงไฟบูชาเทวดาทั้ง 9 ดวง ขึ้นสู่ยอดเสาโกเต้งที่เป็นไม้ไผ่ตรง 36 ปล้อง ซึ่งพิธียกเสาร์โกเต้งจะจัดขึ้นในวันแรกของการเริ่มเทศกาลกินเจ

พิธีปีนบันไดมีด พิธีโต่ทุ้ย เป็นพิธีแสดงอิทธิฤทธิ์ของเหล่าบรรดาม้าทรง ที่ต้องทนความเจ็บปวดกับใบมีดที่ที่คมกริบ นำไปมาวางเรียงเป็นขั้นบันไดหลายๆ ขั้น โดยด้านบนสุดของขั้นบันไดจะมีธงปักอยู่เสมือนเป็นเส้นชัย และจุดหยุดพักให้พระ เพราะบันไดของแต่ละศาลเจ้า มีความสูงอยู่ไม่ใช่น้อย ก่อนที่จะต้องปีนลงอีกด้านหนึ่ง ของบันไดซึ่งทำจากใบมีดเช่นกัน

พิธีลุยไฟ โก้ยโห้ย พิธีที่ขอบอกว่าห้ามลอกเลียนแบบเป็นอันขาด พิธีลุยไฟถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำขึ้นเพื่อชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ จากสิ่งไม่ดี สิ่งสกปรกทั้งหลาย โดยมีพระม้าทรงเป็นตัวแทน และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงอิทธิฤทธิ์ในการควบคุมความร้อนจากกองไฟ ในแต่ละศาลเจ้าจะกำหนดวันทำพิธีของตนขึ้นมา ซึ่งจะได้รับความสนใจทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติเสมอ

พิธีแห่พระรอบเมือง พิธีอิ้วเก้ง พิธีแห่พระรอบเมืองหรือ อิ้วเก้ง อีกหนึ่งสีสันที่ถือว่าเป็น ไฮไลท์ของงาน เทศกาลกินเจ เลยก็ว่าได้ เปรียบเสมือนการออกประพาส เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรของกษัตริย์ จะเห็นได้จากขบวนแห่ที่มีทั้งขบวนธง เสลี่ยงเล็ก ไท่เปี๋ย ขบวนของฉัตรจีน ตามด้วยเสลี่ยงใหญ่หรือ ตั่วเหลี้ยน ตามลำดับ

นอกจากขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่แล้ว เทศกาลกินเจภูเก็ตเมืองต้นตำรับเทศกาลกินผัก การเสียบแทงอาวุธของม้าทรง ที่ต้องทนต่อความเจ็บปวด เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธีกินผัก ซึ่งตลอดทางที่ขบวนผ่านจะเต็มไปด้วยเสียงประทัด และโต๊ะของบูชาที่บรรดาชาวบ้านมาตั้งไหว้ตลอด 2 ข้างทาง

พิธีข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์ โก้ยห่าน พิธีนี้จะจัดขึ้นในวันสุดท้ายของเทศกาลกินผัก โดยเป็นพิธีที่ทำเพื่อเป็นการปัดเป่าให้สิ่งไม่ดี หรือ เคราะห์ร้ายต่างๆออกจากตัว เวลาข้ามสะพานแต่ละคนจะมีโต้ยซี้น หรือตุ๊กตาต่างตัวเขียนชื่อวันเดือน ปี เกิด ด้านใต้สะพานจะมี ตะเกียงไฟน้ำมันจุดอยู่ เพื่อคอยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายภายในตัวผู้เข้าพิธีให้หมดไป

ความเชื่อ เทศกาลกินเจ กินอย่างไรให้ได้บุญ

หลายคนอาจเกิดความสงสัยที่ว่า ทำไม เทศกาลกินเจภูเก็ตเมืองต้นตำรับเทศกาลกินผัก เทศกาลกินเจ ถึงมีความเชื่อ ข้อห้ามหรือข้อพึงปฏิบัติมากมาย จนบางครั้งอาจหลงลืมหรือไม่ทันระวัง ในการเลือกรับประทานอาหาร ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์เจแตกและเลิกกินเจไปกลางคัน

การล้างท้องก่อนกินเจ

บ่อยครั้งนักที่เราต่างก็สงสัยว่าทำไม เทศกาลกินเจภูเก็ตเมืองต้นตำรับเทศกาลกินผัก ต้องล้างท้องก่อนกินเจด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้วการล้างท้องก่อนกินเจ คือการกินเจล่วงหน้า 1 วัน ซึ่งหมายความว่าเมื่อรวมวันล้างท้องไปด้วยจะเป็นการกินเจทั้งหมด 10 วัน โดยทั่วไปการล้างท้องจะงดเว้นเนื้อสัตว์ ผัก หรือของต้องห้ามของการกินเจ เพื่อเป็นการชำระล้างร่างกายและสิ่งตกค้างที่เกิดจากการกินเนื้อสัตว์มาตลอดนั่นเอง รวมถึงการเตรียมความพร้อมให้กับร่างกายก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงกินเจกันอย่างจริงจัง

งดอาหารรสจัด

เพราะถือว่าเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งไม่ว่าจะเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และเค็มจัด โดยความเชื่อนี้มีเรื่องของวัฒนธรรมการกินแบบจีนมาประกอบด้วย เนื่องจากปกติคนจีนไม่ทานอาหารรสจัด เพราะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมการกินเจจึงเน้นอาหารรสอ่อน ๆ ไม่ปรุงแต่งมาก ซึ่งมีข้อดีในเรื่องของไม่ส่งผลต่อสุขภาพและยังดีกับสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

งดดื่มนม น้ำผึ้ง ขนมปัง

ข้อนี้หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมถึงต้องงดกินนม น้ำผึ้ง ขนมปัง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ ความเป็นจริงแล้ว เทศกาลกินเจภูเก็ตเมืองต้นตำรับเทศกาลกินผัก การกินเจ่ไม่ได้งดเนื้อสัตว์เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงกระบวนการได้มาของอาหารด้วย ดังนั้นการได้น้ำผึ้ง นม ก็ต้องไปเบียดเบียนความเป็นอยู่ของสัตว์เช่นกัน ยกตัวอย่าง น้ำผึ้ง กว่าจะได้น้ำผึ้งต้องไปไล่ผึ้งจากรัง ทำให้ตัวอ่อนเล็ก ๆ ตายไปในระหว่างเก็บน้ำผึ้ง ส่วนขนมปังมีส่วนผสมของ นม เนย ไข่ หรือ ชีส เทศกาลกินเจ จึงเน้นนักหนาว่าไม่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่ต้องไม่กินผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ด้วย

ระวังเรื่อง กาย วาจา ใจ

การกินเจไม่ได้เน้นแค่เรื่องกิน แต่เน้นเรื่องการถือศีล รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วย เนื่องจากเป็นการชำระล้าง สิ่งที่เคยประพฤติปฏิบัติไม่ดีมาตลอดปี เพื่อเป็นการทำบุญใหญ่ให้ตัวเองและอุทิศให้สัตว์ทั้งหลายที่เราเคยเบียดเบียน ดังนั้นการรักษา กาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ จึงเป็นหลักธรรมที่ควรยึดถืออย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • ไม่นินทาว่าร้าย ไม่พูดคำหยาบ ไม่ส่อเสียดคนอื่น
  • ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น
  • มีสติ ไม่คิดร้าย ไม่เพ้อเจ้อ ควรคิดในทางสร้างสรรค์ จิตใจจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน

งดผักที่มีกลิ่นฉุน 

การงดผักที่มีกลิ่นฉุนมีเหตุผลหลัก ๆ คือด้านสุขภาพ เนื่องจากแพทย์แผนจีนแนะมาว่า คุณสมบัติตามธรรมชาติของผักที่มีกลิ่นฉุน 5 ชนิด อาทิ กระเทียม  หัวหอม  หลักเกียว กุยช่าย และใบยาสูบ มีไว้เพื่อช่วยย่อยเนื้อสัตว์ ทำให้ระบบย่อยอาหารของเราทำงานไม่หนักจนเกินไป ทว่าช่วงกินเจจะต้องงดเนื้อสัตว์

ดังนั้นการกินผักที่มีกลิ่นเหล่านี้ อาจทำให้ระคายเคืองต่อระบบย่อยอาหารได้ และยังส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึกของผู้กิน ทำให้จิตใจรุ่มร้อน หงุดหงิดง่าย และกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเพศ